วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการบรรยากาศของโลก




ย้อนไป เมื่อ 4,600 ล้านปีที่แล้ว กลุ่มแก๊สและฝุ่นซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สฮีเลียม ได้รวมตัวกันเกิดเป็นดวงอาทิตย์  เศษที่เหลือได้รวมตัวกันเป็น ดาวเคราะห์ซึ่งรวมถึงโลกและวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ แก๊สไฮโดรเจนและแก๊สฮีเลียมที่เหลือซึ่งไม่ได้ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นและสาร ระเหยง่ายเช่น แอมโมเนีย มีเทน และน้ำ ได้ถูกดาวเคราะห์ดวงใหญ่ดึงเอาไว้ ดาวเคราะห์ขนาดเล็ก เช่นโลก ดึงแก๊สไฮโดรเจน และฮีเลียมไว้ได้เพียงเล็กน้อย  ด้วยเหตุนี้บรรยากาศของโลกเราในช่วงนั้นจึงประกอบไปด้วย แก๊สไฮโดรเจน และแก๊สฮีเลียมปริมาณเบาบางเป็นองค์ประกอบหลัก และมีแก๊สอื่นๆที่เป็นสารประกอบของไฮโดรเจน เช่น มีเทน และแอมโมเนีย อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันบรรยากาศของโลกเรานั้น มีองค์ประกอบหลักเป็นแก๊สไนโตรเจนถึง 78% และออกซิเจนถึง 21% โดยประมาณ ส่วนแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมนั้นพบน้อยมาก เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ในช่วงเวลา 4,600 ล้านปีที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น บรรยากาศของโลกมีวิวัฒนาการอย่างไร จึงทำให้สัดส่วนของแก๊สในบรรยากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นดังเช่นในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของแก๊สในบรรยากาศจากอดีตเมื่อเริ่มเกิดโลก วิวัฒนาการยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เกิดเนื่องมาจากกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก และส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของโลกในอดีต ต่อเนื่องมาจนปัจจุบันหากโลกของเราปกคลุมไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม สิ่งมีชีวิตต่างๆย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ เพราะสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องใช้แก๊สออกซิเจนในการดำรงชีวิต รวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่างๆบนโลกย่อมไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างเช่น ดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะของเรา

หากย้อนไปในช่วงที่โลกเริ่มเกิด ขึ้นมาใหม่ๆ บรรยากาศของโลก ประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน แอมโมเนีย ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของบรรยากาศโลกในช่วงแรก  เวลานั้นภายในโลกยังไม่มีการแบ่งเป็นชั้นๆเหมือนในเวลานี้ นั่นหมายความว่าไม่มีเปลือกโลกชั้นใน ชั้นนอก และแก่นโลก รวมถึงยังไม่มีสนามแม่เหล็กโลกที่ช่วงป้องกันรังสีต่างๆ จากดวงอาทิตย์ แก๊สไฮโดรเจน และฮีเลียม สามารถหลุดลอยออกไปจากโลกได้โดยง่าย เนื่องจากโลกไม่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะดึงดูดแก็สที่มีมวลโมเลกุลต่ำเหล่านี้ ไว้ได้ และรังสีจากดวงอาทิตย์เป็นตัวการส่งพลังงานมากมายมายังโลก ทำให้แก๊สอื่นๆ ที่เหลือหลุดลอยไปในอวกาศ และหากสภาพของโลกในยุคดังกล่าวทำให้แก๊สต่างๆ หลุดลอยไปแล้วแก๊สที่มีอยู่ในบรรยากาศปัจจุบันมาจากที่ไหนกัน  เมื่อสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการ บรรยากาศของโลกก็เช่นเดียวกัน ย่อมมีวิวัฒนาการและผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายขั้นตอนก่อนที่จะมีองค์ประกอบ เช่นยุคปัจจุบัน  โดยการ

เปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมมีความสัมพันธ์และควบคู่มากับกระบวนการ เปลี่ยนแปลงต่างๆภายในโลก

เมื่อ4,400 ล้านปีเกิดภูเขาไฟอยู่ทั่วไปบนเปลือกโลก เมื่อภูเขาไฟเหล่านั้นมีการพ่นลาวาออกมา จะมีไอน้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แก๊สแอมโมเนีย แก๊สมีเทน และแก๊สไนโตรเจน ออกมาด้วย ซึ่งถือเป็น องค์ประกอบของบรรยากาศโลกใน  ช่วงที่สองจากการคำนวณบรรยากาศของโลกในช่วงนี้ พบว่ามีปริมาณมากกว่าในปัจจุบันถึง 100 เท่าเลยทีเดียว และการที่บรรยากาศในช่วงนี้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนมาก จึงเป็นสาเหตุให้โลกเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิของโลกไม่เย็นจนเกินไป

ต่อมาไอน้ำในบรรยากาศเกิดการควบแน่นกลายเป็นของเหลว ซึ่งช่วงนี้เองที่ทำให้เกิดการพัฒนากลายเป็นมหาสมุทร แก๊สต่างๆ ที่อยู่ในบรรยากาศที่ทำปฏิกิริยากับน้ำได้ง่ายจะถูกละลายมา สะสมอยู่ในมหาสมุทรในรูปแบบต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ถูกสะสมในมหาสมุทรในรูปสารคาร์บอเนตเป็นหินปูนเป็นต้น  นอกจากนั้นพลังงานแสงจะทำให้โมเลกุลของแอมโมเนียปลดปล่อยแก๊สไฮโดรเจนและ แก๊สไนโตรเจนออกมาสู่บรรยากาศ  เนื่องจากแก๊สไฮโดรเจนมีมวลน้อยประกอบกับได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์จึงทำ ให้แก๊สไฮโดรเจนหลุดลอยจากแรงดึงดูดของโลก ส่วนแก๊สไนโตรเจนซึ่งเป็นแก๊สที่มีมวลโมเลกุลสูงกว่าและไม่ว่องไวในการทำปฏิกิริยากับสารอื่นจึงสะสมตัวอยู่ในบรรยากาศ และสะสมตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นองค์ประกอบหลักของบรรยากาศโลกดังเช่นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการระเบิดของภูเขาไฟไม่มีการปลดปล่อยแก๊สออกซิเจนสู่บรรยากาศแล้ว ถ้าอย่างนั้นแก๊สออกซิเจนที่เป็นองค์ประกอบหลักอันดับที่สองของบรรยากาศในปัจจุบัน มาจากไหนกันนะ 

เมื่อช่วง ปี 1980 นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่ พบว่าดาวที่เกิดใหม่เหล่านั้นได้ปลดปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตออกมามากกว่าที่ ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยมากมายหลายเท่านัก ซึ่งเมื่อย้อนไปในครั้งที่ดวงอาทิตย์เกิดใหม่นั้น ถ้าดวงอาทิตย์มีการปลดปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตในระดับสูงเช่นดาวเกิดใหม่ เหล่านั้นจะสามารถทำให้โมเลกุลของ น้ำแตกตัวเป็นออกซิเจน และแก๊สไอโดรเจนได้ ซึ่งแก๊สไอโดรเจนที่มีมวลโมเลกุลเบากว่าจะกระจายตัวออกไปในอวกาศหลงเหลือไว้ แต่เพียงแก็สออกซิเจน  โดยออกซิเจนที่เกิดขึ้นนี้รวมตัวกันเกิดเป็น แก๊สออกซิเจน และ โอโซนขึ้น โดยจะทำให้เกิดโมเลกุลของออกซิเจน ประมาณ 1-2 % ของระดับปัจจุบัน และโอโซนที่เกิดขึ้นจะเป็นปริมาณที่มากพอที่จะป้องกันรังสี อัลตราไวโอเล็ต ไม่ให้ผ่านเข้ามาสู่ผิวโลก  และด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้โลกอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตยุคเริ่มแรกขึ้น
จากซากดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏบนหินทำให้เราทราบว่า สิ่งมีชีวิตยุคเริ่มแรกซึ่งได้แก่ ไซยาโนแบคทีเรียนั้นเกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 3,300 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตแรกๆที่สามารถสร้างออกซิเจนได้จากกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสง  และเป็นสิ่งมีชีวิตพวกหลักที่ทำให้บรรยากาศของโลกมีปริมาณออกซิเจนเพิ่มขึ้น ในช่วง 2,700-2,200 ล้านปีก่อน และด้วยกระบวนการต่างๆ เหล่านี้จึงทำให้บรรยากาศของโลกเข้าสู่ยุคของแก๊สไนโตรเจน และแก๊สออกซิเจน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของบรรยากาศโลกในช่วงที่สามดังเช่นในปัจจุบันจากการ

จากการ ศึกษาที่ผ่านมาพบว่ากระบวนการต่างๆ ทั้งจากบนโลกในโลกและนอกโลก ล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบรรยากาศของโลก นอกจากนั้นบรรยากาศของโลกยังส่งผลต่อการเกิดกระบวนการต่างๆ บนโลกด้วยเช่นกัน กล่าวได้ว่าสิ่งต่างๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งชีวภาค บรรยากาศ ธรณีภาค และอุทกภาค ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์ได้ก่อขึ้นนอกจากจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ โลกแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นยังสามารถย้อนส่งผลมาถึงมนุษย์ด้วยเช่นกัน 
ซึ่งจากการศึกษาสามารถสรุปได้เป็น 2 แนวทางคือ
กรณีที่ 1 บรรยากาศในระยะแรกของโลก ประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และละอองไอน้ำ ซึ่งจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อโมเลกุลของน้ำสลายตัวในบรรยากาศอันเนื่องมาจากการกระทำของรังสีอัลตราไวโอเลต จะเกิดอนุภาคของ ก๊าซไฮโดรเจน และอนุภาคของออกซิเจน เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่เบากว่าออกซิเจน จึงสามารถลอยสูงขึ้นและหลุดหายไปจากบรรยากาศได้ ต่างจากก๊าซออกซิเจนซึ่งมีมวลมากกว่าจึงยังคงตัวอยู่ในบรรยากาศต่อไป อย่างไรก็ตามการเกิดออกซิเจนจากกระบวนการดังกล่าวนี้จะมีปริมาณน้อยมาก

กรณีที่2 ก๊าซออกซิเจนบนผิวโลกเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช โดยมีสมมุติฐานว่า สิ่งมีชีวิตระยะแรกของโลกเป็นจำพวกแบคทีเรีย พืช และสัตว์เซลล์เดียว ซึ่งสามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจน ปัจจุบันยังคงพบพืชชั้นต่ำสีเขียวอยู่ สิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีพัฒนาการในการสังเคราะห์แสงโดยอาศัยแสงจากดวงอาทิตย์ทำให้มีวิวัฒนาการเป็นพืชชั้นสูงในเวลาต่อมา 


การแบ่งชั้นบรรยากาศของโลก
การแบ่งชั้นบรรยากาศของโลกพิจารณาโดยการใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ศึกษาโดยการส่งบอลลูน การตรวจสอบโดยการใช้คลื่นวิทยุ หรือการศึกษาจากดาวเทียม บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 97 อยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณไม่เกิน 29 กิโลเมตร และอีกประมาณร้อยละ 3 เป็นลักษณะของบรรยากาศที่มีการฟุ้งกระจาย ณ ความสูงที่มากขึ้นบรรยากาศจะเบาบางลงมาก ดังนั้นการกำหนดขอบเขตของบรรยากาศโลกจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เราแบ่งชั้นบรรยากาศออกได้เป็น ดังนี้

บรรยากาศชั้นโฮโมสเฟียร์ (Homosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นโลกขึ้นไปไม่เกิน 90 กิโลเมตร เมื่อพิจารณาจากความ แตกต่างด้านอุณหภูมิสามารถแบ่งย่อยเป็น 3 ชั้นย่อย ได้แก่ 
1.บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) เป็นชั้นที่อยู่ติดกับพื้นโลก มีความหนาไม่เท่ากัน บรรยากาศชั้นนี้อยู่ใกล้ ชิดกับมนุษย์มากที่สุด มีระดับความสูงไม่เกิน 14 กิโลเมตร จากผิวดิน ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในลักษณะ "ยิ่งสูงยิ่งหนาว" โดยที่อุณหภูมิจะลดลงทุก 0.6 องศาเซลเซียส ต่อความสูงที่เพิ่มขึ้นทุก 100 เมตร บรรยากาศชั้นนี้เป็นชั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ และปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ เช่น ฝน เมฆ ลม พายุ เป็นต้น บรรยากาศชั้นนี้มีแนวสูงสุดของชั้นบรรยากาศเรียกว่า โทรโพพอส (Tropopause)   
2.บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือชั้นโทรโพพอสขึ้นไป เป็นชั้นบรรยากาศที่มี ความสูงตั้งแต่ 14 - 50 กิโลเมตร โดยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่อยู่ชิดกับบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ เป็นส่วนล่าง มีโอโซนอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งเป็นรอยต่อของชั้น โทรโพพอส แนวโอโซนดังกล่าวทำหน้าที่ในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ และส่วนที่สองอยู่ถัดจากแนวโอโซนขึ้นไปจนถึง 50 กิโลเมตร ช่วงนี้อากาศจะเบาบางมาก มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคือ"ยิ่งสูงอากาศยิ่งร้อน " บรรยากาศชั้นนี้มีแนวสูงสุดเรียกว่า สตราโตพอส (Stratopause) เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิคงที่
3.บรรยากาศชั้นมีโซเฟียร์ (Mesosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีระดับความสูงจากพื้นดิน 50 – 90 กิโลเมตร มี อากาศเบาบางมาก การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคือ " ยิ่งสูงอุณหภูมิยิ่งลดต่ำลง " ชั้นบรรยากาศนี้สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ดี และขณะเดียวกันด้วยคุณสมบัติทางด้านอุณหภูมิจึงเป็นเสมือนเกราะป้องกันหรือลดความรุนแรงของอุกาบาตที่จะตกมากระทบพื้นโลก โดยจะช่วยทำลายอุกาบาตให้ลุกไหม้ก่อนที่จะตกลงมาสู่พื้นโลก บรรยากาศชั้นนี้มีแนวสูงสุดเรียกว่า มีโซพอส (Mesopause)



         บรรยากาศชั้นเฮเทอโรสเฟียร์ (Heterosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงระหว่าง 90 กิโลเมตร ถึง 10,000 กิโลเมตร เป็นเขตบรรยากาศ สุดท้ายที่มีอากาศเบาบาง ว่างเปล่า จนเข้าสู่ลักษณะสุญญากาศ แบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อย คือ 
1.บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) อยู่สูงจากระดับพื้นดินไม่เกิน 90 - 350 กิโลเมตร มีแนวสูงสุด เรียกว่า ไอโอโนพอส (Ionospuase) เนื่องจากสภาพของบรรยากาศเบาบางมาก อนุภาคโปรตอนและอิเลคตรอนจึงหลุดออกสู่อวกาศได้อย่างง่ายดาย นอกจากนั้นบรรยากาศชั้นนี้เป็นสื่อไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้าต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบ และอะตอมของก๊าซต่างๆ มีประจุไฟฟ้าลบน้อยเกินไป ลักษณะอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศนี้เป็นแบบ " ยิ่งสูงยิ่งร้อน " บรรยากาศชั้นนี้แยกย่อยได้ดังนี้ บรรยากาศชั้น D (D Layer) เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultra Violet) ของดวงอาทิตย์ ทำให้ก๊าซไนตริกออกไซด์กลายเป็นประจุไฟฟ้า มีระดับความสูง 97 กิโลเมตร จากพื้นดิน ช่วยในการสะท้อนระบบคลื่นวิทยุคลื่นยาวกลับมายังพื้นโลก ตอนล่างของบรรยากาศชั้นนี้จะอยู่ในชั้นบรรยากาศ มีโซเฟียร์ บรรยากาศชั้น E (E Layer) เกิดจากการกระทำของรังสีเอกซ์ (X - Ray) จากดวงอาทิตย์ ทำให้ก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศกลายเป็นประจุไฟฟ้า มีระดับความสูงจากพื้นดินระหว่าง 110 - 150 กิโลเมตร ช่วยสะท้อนระบบคลื่นวิทยุคลื่นปานกลางกลับมายังพื้นโลก บรรยากาศชั้น F (F Layer) เป็นชั้นบรรยากาศที่เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultra Violet) ของดวงอาทิตย์ ทำให้ก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ กลายเป็นประจุไฟฟ้า มีระดับความสูงจากพื้นดินระหว่าง 150 - 300 กิโลเมตร ช่วยสะท้อนระบบคลื่นวิทยุคลื่นสั้นกลับมายังพื้นโลก
 2.บรรยากาศชั้นเอกโซเฟียร์ (Exosphere) คำว่า " เอกโซ " มาจากภาษากรีก แปลว่า " ชั้นนอก " เป็นบรรยากาศ ที่ห่อหุ้มโลกภายนอกสุด และจะกลืนเข้ากับห้วงอวกาศในที่สุด ไม่สามารถกำหนดได้ว่ามีขอบเขตเท่าใด ชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิสูงเนื่องจากความร้อนจากแสงอาทิตย์ ส่วนใหญ่คือก๊าซฮีเลียมและไฮโดรเจนที่ซ้อนกันอยู่

         ชั้นบรรยากาศแมกนิโตสเฟียร์ (Magnetosphere) เป็นปรากฏการณ์ของสนามแม่เหล็กโลก เราเรียกว่าสนามแม่เหล็กภายนอก โดยอยู่สูงจาก ระดับพื้นดินไปประมาณ 13,000 กิโลเมตร ซึ่งนับว่าอยู่สูงจากชั้นบรรยากาศ เราจึงเรียกสนามแม่เหล็กภายนอกนี้ว่า แมกนิโตสเฟียร์ มีแนวสูงสุดเรียกว่า แมกนิโตพอส (Magnetopause) ลักษณะของสนามแม่เหล็กคล้ายกับวงแหวนล้อมรอบโลกเอาไว้ รูปร่างของแมกนิโตสเฟียร์จะเปลี่ยนไปตามอำนาจของพายุแม่เหล็กที่เราเรียกว่า ลมสุริยะ (Solar wind) และประจุไฟฟ้าโปรตอน อิเล็กตรอน จากดวงอาทิตย์



13 ความคิดเห็น:

  1. ชอบศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดีค่ะ ข้อมูลดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. เป็นเนื้อหาที่มีประโยชน์มากเลยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่มีประโยชน์หรอกอย่าตอแหลพ่อมึงตายอิดอก

      ลบ
  3. อ่านแล้วได้รู้อะไรเกี่ยวกับโลกของเรามากขึ้นเลยค่ะ ขอบคุนสำหรับเนื้อหาดีๆนะคะ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาสาระดีมากเลยค่ะอ่านแล้วเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาสาระดีมาก อ่านแล้วเข้าใจง่าย เป็นเนื้อหาที่มีประโยชน์มากเลย

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาดีมีสาระมากเลยค้ะ

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาดีมีสาระคะ

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาครบถ้วนดี น่าอ่านดี อ่านแล้วได้ประโยชน์ น่าสนใจเป็นอย่างมากค่ะ สุดยอด

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ23 มกราคม 2565 เวลา 05:28

    My merit casino bonus: No deposit bonus codes - Shootercasino
    If you want to start 메리트카지노 gambling, you will find the best bonuses available. To start to make a deposit, you must register 퍼스트카지노 and make a deposit and 퍼스트 카지노 deposit.

    ตอบลบ